ตัวอักษร
นี้คือตัวอักษรในภาษาเอสเปรันโต
- Aa ami รัก
- Bb bela สวย
- Cc celo จุดประสงค์
- Ĉĉ ĉokolado ช็อกโกแลต
- Dd doni ให้
- Ee egala เท่ากัน
- Ff facila ง่าย
- Gg granda ใหญ่
- Ĝĝ ĝui สนุกสนาน
- Hh horo ชั่วโมง
- Ĥĥ ĥoro คณะนักร้องประสานเสียง
- Ii infano เด็ก
- Jj juna เยาว์วัย
- Ĵĵ ĵurnalo หนังสือพิมพ์
- Kk kafo กาแฟ
- Ll lando ประเทศ
- Mm maro ทะเล
- Nn nokto กลางคืน
- Oo oro ทองคำ
- Pp paco ความสงบสุข
- Rr rapida เร็ว
- Ss salti กระโดด
- Ŝŝ ŝipo เรือ
- Tt tago วัน
- Uu urbo เมือง
- Ŭŭ aŭto รถยนต์
- Vv vivo ชีวิต
- Zz zebro ม้าลาย
ตัวพิมพ์ใหญ่: | A, B, C, Ĉ, D, E, F, G, Ĝ, H, Ĥ, I, J, Ĵ, K, L, M, N, O, P, R, S, Ŝ, T, U, Ŭ, V, Z |
---|---|
ตัวพิมพ์เล็ก: | a, b, c, ĉ, d, e, f, g, ĝ, h, ĥ, i, j, ĵ, k, l, m, n, o, p, r, s, ŝ, t, u, ŭ, v, z |
ชื่อตัวอักษร: | a, bo, co, ĉo, do, e, fo, go, ĝo, ho, ĥo, i, jo, ĵo, ko, lo, mo, no, o, po, ro, so, ŝo, to, u, ŭo, vo, zo |
ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก
พยัญชนะแต่ละตัวจะมีด้วยกันสองรูปแบบคือ ตัวพิมพ์ใหญ่ และ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์เล็กจะเป็นรูปแบบตัวอักษรแบทั่ว ๆ ไป ส่วนตัวพิมพ์ใหญ่มักจะใช้ต่อเมื่อเป็นตัวอักษรแรกของประโยค หรือตัวอักษรเรกของคำนามชี้เฉพาะ
เครื่องหมายพิเศษบนตัวอักษร
ในภาษาเอสเปรันโตมีอักษรหกตัวที่เป็นเอกลักษณ์ คือ Ĉ, Ĝ, Ĥ, Ĵ, Ŝ และ Ŭ ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มีเครื่องหมายพิเศษอยู่บนตัวอักษร เราเรียกเครื่องหมาย ^ ว่า cirkumflekso หรืออาจเรียกว่า "หมวก" และเครื่องหมายพิเศษบนตัวอักษร U เรียกว่า hoketo
เมื่อไม่สามารถใช้เครื่องหมายพิเศษที่อยู่บนตัวอักษรได้ เราจะใช้ระบบการเขียน H (H-skribo) ซึ่งเป็นระบบการเขียนทางเลือกที่อยู่ใน Fundamento de Esperanto หลักการของระบบการเขียน H คือจะวางตัวอักษร H หลังจากตัวอักษรที่ต้องมีเครื่องหมาย cirkumflekso หรือ เครื่องหมายหมวก และสำหรับเครื่องหมาย heketo เหนือตัวอักษร Ŭ จะถูกเอาออก (กล่าวคือ เขียนเป็น U ธรรมดา) : ch, gh, hh, jh, sh, u ส่วนในระบบการประมวลคำในคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ผู้คนจำนวนมากใช้ระบบอักษร X โดยเราจะเขียนตัวอักษร X หลังจากตัวอักษรแทนที่เครื่องหมายพิเศษที่อยู่บนตัวอักษร: cx, gx, hx, jx, sx, ux
การออกเสียง
ตัวอักษร A, E, I, O, และ U เป็น สระ ส่วนที่เหลือเป็น พยัญชนะ ในภาษาเอสเปรันโตไม่มีตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เราจะต้องอ่านออกเสียงตัวอักษรทุกตัว
สระ
สระ | คำอธิบาย | สัญลักษณ์ IPA |
---|---|---|
I | อี | [i] |
U | อู | [u] |
E | เอ | [e] |
O | โอ | [o] |
A | อา | [a] |
การเน้นเสียง
คำที่มีสระตั้งแต่สองตัวขึ้นไปจะมีเสียงสระหนึ่งตัวที่จะถูกเน้นเสียงหนักมากกว่าสระตัวอื่น ซึ่งเสียงเน้นหนักจะเป็นเสียงสระตัวรองสุดท้ายเสมอ (อักษรตัวพิมพ์ใหญ่จะแสดงตำแหน่งเสียงเน้นหนัก) : tAblo, nenIam, rapIda, taksIo, familIo, revolvEro, krokodIloj, eskImo, diskUtas, mEtro, metrOo, Apud, anstAtaŭ, trIcent, mAlpli, Ekde, kElkmil เป็นต้น
การลงท้ายคำด้วยตัวอักษร O สามารถแทนที่ได้ด้วย เครื่องหมายอะโปสโตรโฟ (Apostrofo) โดยที่จะถือว่าเครื่องหมายนี้เป็นเหมือนสระตัวหนึ่งแต่ที่ไม่ออกเสียง ซึ่งพยางค์ที่เน้นเสียงหนักก็จะไม่เปลี่ยนแปลง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ taksI', familI', revolvEr', metrO'
การแปรผันของเสียงสระ
การออกเสียงสระนั้นสามารถออกเสียงแปรผันได้อย่างอิสระภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง โดยเงื่อนไขที่สำคัญนั้นก็คือการออกเสียงสระแต่ละตัว จะต้องไม่ออกเสียงไปเหมือนกับเสียงสระในห้าตัวจนมากเกินไป
ความยาวของการออกเสียงสระในภาษาเอสเปรันโตไม่มีผลต่อความหมายของคำแต่อย่างใด ฉะนั้นผู้พูดสามารถออกเสียงสระได้สั้นยาวได้ตามต้องการ
การออกเสียงสระในภาษาเอสเปรันโตจะออกเสียง "แบบไม่มีการเคลื่อนที่" ซึ่งหมายถึงในขณะออกเสียงลิ้นจะไม่เคลื่อนที่ภายในปาก ตังอย่างเช่น เสียงตัว E จะไม่ออกเสียงเป็น /เอย์/ หรือ O จะไม่ออกเสียงเป็น /โอว์/
พยัญชนะ
พยัญชนะ | คำอธิบาย | สัญลักษณ์ IPA |
---|---|---|
B | โบ | [b] |
P | โพ | [p] |
D | โด | [d] |
T | โท | [t] |
G | โก | [g] |
K | โค | [k] |
V | โว (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [v] |
F | โฟ | [f] |
Z | โซ (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [z] |
S | โซ | [s] |
Ĵ | โจ (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [ʒ] |
Ŝ | โฌ (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [ʃ] |
Ĥ | โฆ (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [x] |
H | โฮ | [h] |
C | ทโซ (ภาษาไทยไม่มีเสียงนี้) | [ts] |
Ĝ | โจ | [dʒ] |
Ĉ | โช | [tʃ] |
M | โม | [m] |
N | โน | [n] |
L | โล | [l] |
R | โร (กระดกลิ้น) | [r] |
J | โย | [j] |
Ŭ | อู | [w] |
สระประสม
ตัวอักษร J และ Ŭ เป็นสระประสม มีวิธีการออกเสียงเหมือนกับการออกเสียงของสระ แต่ในภาษาเอสเปรันโต ตัวอักษรนี้ถูกเรียกว่าเป็นพยัญชนะ ในการออกเสียงจะออกเสียงสั้นอยู่เสมอ และไม่สามารถออกเสียงเน้นได้ โดยปกติสระประสมจะวางต่อจากสระจริง สระประสม Ŭ โดยปกติจะปรากฏอยู่ในรูปแบบ "aŭ" และ "eŭ" เท่านั้น
การแปรผันของเสียงพยัญชนะ
พยัญชนะเสียงไม่ก้องเมื่ออยู่หลังจากพยัญชนะเสียงก้อง พยัญชนะนั้นมักจะกลายเป็นเสียงก้อง ตัวอย่างเช่น akvo → "agvo", okdek → "ogdek" และในทางกลับกัน หากพยัญชนะเสียงก้องอยู่หลังจากพยัญชนะเสียงไม่ก้อง พยัญชนะนั้นมักจะกลายเป็นเสียงไม่ก้อง ตัวอย่างเช่น subtaso → "suptaso", absolute → "apsolute" การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติสามารถอนุโลมได้ หากไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของความหมายของคำ ส่วนในกรณีที่ต้องระวังคือ พยัญชนะเสียงก้องที่เป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำมักจะออกเสียงกลายเป็นพยัญชนะไม่ก้อง ตัวอย่างเช่น apud → "aput", sed → "set", hund' → "hunt", naz' → "nas" การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับ
ผู้พูดภาษาเอสเปรันโตบางชาติมักจะออกเสียง KV และ GV เป็น "kŭ" และ "gŭ" ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น akvo → "akŭo", kvin → "kŭin", gvidi → "gŭidi" สำหรับคำศัพท์ในภาษาเอสเปรันโต ตัวอักษร Ŭ จะไม่วางต่อท้ายพยัญชนะใด ๆ และความเข้าที่ขลาดเคลื่อนอย่างนี้แทบจะไม่เกิดขึ้นได้ หากแต่การออกเสียงในลักษณะนั้นโดยทั่วไปถือว่าไม่ถูกต้อง
ในบางภาษาอาจะจะมีการออกเสียงตัว P, T, K, C และ Ĉ แบบมีลม ซึ่งเป็นการออกเสียงราวกับมีเสียง H เบา ๆ ร่วมอยู่ด้วย สำหรับในภาษาเอสเปรันโต ตัวอักษรที่กล่าวมานั้นจะออกเสียงแบบไม่มีลม แต่ไม่มีกฎเกณฑ์สำหรับเรื่องนี้ นั้นหมายความว่าสามารถที่จะออกเสียงแบบมีลมได้เช่นกัน แต่ควรระวังการออกเสียงแบบมีลมไม่ให้เหมือนเสียง H แบบเต็ม
L estas farata per parta baro ĉe la dentoj. Se oni baras nur tie, la L sonas "hele". Se oni samtempe levas la malantaŭon de la lango kontraŭ la velo, la L sonas "malhele" (u-ece). Tia malhela L estas tute bona alternativo, sed oni atentu, ke ĝi ne sonu kiel Ŭ. Tio okazas, se la ĉefa baro ĉe la dentoj malaperas.
Kiam N staras antaŭ gingiva aŭ vela sono, oni emas ŝanĝi N en gingivan sonon (malgranda diferenco), aŭ velan sonon (granda diferenco), por faciligi la elparolon: tranĉi, manĝi, longa, banko k.a. Tio estas senproblema, ĉar ne ekzistas en Esperanto gingiva aŭ vela nazaloj, kun kiuj N povus konfuziĝi. Simile oni emas elparoli M lipdente antaŭ alia lipdenta sono: amforo, ŝaŭmvino k.a. Ankaŭ tio estas senproblema. Sed oni atentu, ke oni ne elparolu N lipdente: infero, enveni k.a., ĉar tiam oni konfuzus N kaj M, kio ne estas akceptebla. Kompreneble oni povas ĉiam uzi la bazan elparolon de N kaj M.
R normale estas denta, sed fakte ne gravas, kie en la buŝo oni faras la sonon. Ekz. vela R estas tute bona alternativo. La grava afero pri R estas, ke ĝi estu vibranto. Do ankaŭ vela R prefere estu vibranto (ĝi estu "rulata"), kio signifas, ke la uvulo tremas kontraŭ la lango. R estu same tremanta, kie ajn ĝi staras en vorto. En ekz. rivero la du R estu same elparolataj. Oni uzas ankaŭ diversajn aliajn specojn de R-sonoj, kaj tio estas sufiĉe akceptita en la praktiko. Oni tamen zorgu, ke la R-sono ne konfuziĝu kun alia konsonanto, aŭ kun iu el la kvin vokaloj.
ความยาวของการออกเสียงพยัญชนะในภาษาเอสเปรันโตไม่มีผลต่อความหมายของคำแต่อย่างใด ฉะนั้นผู้พูดสามารถออกเสียงพยัญชนะได้สั้นยาวได้ตามต้องการ